ANTI-TAIL vs. C/2023 A3 (Tsuchinshan-ATLAS)
(Credits: Anti-tail of Comet Tsuchinsahn-ATLAS on Oct 17, 2024 at E-EYE Observatory in Spain by R.Palcic)
Comet Tail
When we think of comets, we often picture them with a bright, trailing tail stretching away from the Sun.
เมื่อเรานึกถึงดาวหาง เรามักจะนึกภาพถึงแสงที่สว่างสดใสและหางที่ยาวเหยียดออกจากดวงอาทิตย์
(Credits: The Thai Astronomical Society)
Anti-tail
However, there’s a fascinating phenomenon called an “Anti-tail” that can appear to point in the opposite direction, i.e., toward the Sun instead of the other way around.
แต่มีปรากฏการณ์ที่น่าสนใจที่เรียกว่า “หางย้อน” ซึ่งหางเหมือนจะชี้กลับไปทางดวงอาทิตย์ แทนที่จะเป็นในทางตรงกันข้าม
(Credits: Anti-tail of Tsuchinshan-ATLAS on Oct 14, 2024 by Adam Block – Gates Pass, Tucson Mountain Park, Arizona, USA.)
This feature may seem unusual because it defies our typical understanding of how a comet’s tail behaves: The tail of the comet always has a direction that points in the opposite direction of the sun.
ปรากฏการณ์นี้ดูแปลกตาเพราะขัดกับความเข้าใจทั่วไปของเราที่ว่า หางของดาวหางนั้นจะมีทิศทางชี้ไปทางตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เสมอ
(Credits: Star Walk 2)
An “anti-tail” is an “visual or optical illusion” caused by the space geometry of the comet, the Earth, and the Sun.
“หางย้อน” เป็น “ภาพลวงตา”ที่เกิดจากเรขาคณิตทางอวกาศของดาวหาง โลก และดวงอาทิตย์
In fact, the comet’s tail is not caused by the movement of the comet. The comet’s tail is formed by the solar wind, which is a stream of high-energy charged particles blowing from the sun. The comet’s head is mostly ice and dust. When the comet approaches the sun, it receives heat and solar wind. The ice in the comet’s head is vaporized into gas and spews out a small hole in the nucleus of the comet. The ice and gaseous dust are blown away by the solar wind. So, we see that the tail of that comet always has a direction that points in the opposite direction of the sun.
แท้จริงแล้ว หางของดาวหางไม่ได้เกิดจากการเคลื่อนที่ของดาวหาง แต่หางของดาวหางเกิดจากลมสุริยะซึ่งเป็นกระแสธารของอนุภาคประจุไฟฟ้าพลังงานสูงที่พัดมาจากดวงอาทิตย์ หัวของดาวหางมีองค์ประกอบเป็นน้ำแข็งและฝุ่นเป็นส่วนใหญ่ เมื่อดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ จะได้รับความร้อนและลมสุริยะจากดวงอาทิตย์ ทำให้น้ำแข็งในหัวของดาวหางเกิดการระเหิดเป็นก๊าซและพ่นออกมาจากรูเล็กรูน้อยในนิวเคลียสดาวหาง น้ำแข็งและฝุ่นก๊าซเหล่านี้ก็จะถูกลมสุริยะพัดออกไปตามการพัดพาของลมสุริยะ ดังนั้นเราจึงเห็นว่าหางของดาวหางนั้นจะมีทิศทางชี้ไปทางตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เสมอ
(Credits: Anti-tail of Tsuchinshan-ATLAS on Oct 19, 2024 by Jeff Lesperance – South Carolina, USA.)
However, under certain circumstances, the dust particles can form a narrow straight line that appears to point towards the Sun from the Earth’s perspective. This is because we are viewing the particles along their orbit, making them look like they form a tail heading in the “wrong” direction.
แต่ในบางสถานการณ์บางอย่าง ฝุ่นจากดาวหางสามารถเรียงตัวเป็นเส้นตรงบาง ๆ ที่ดูเหมือนจะชี้กลับไปยังดวงอาทิตย์จากมุมมองของโลก นั่นเป็นเพราะเรากำลังมองเห็นฝุ่นที่เรียงตัวตามวงโคจรของดาวหาง ทำให้มันดูเหมือนหางที่ชี้ไปในทิศทางที่ “ผิดปกติ“
(Credits: Anti-tail of Tsuchinshan-ATLAS on Oct 19, 2024 by Brian Brennan – Oak Ridge, New Jersey, USA.)
“Anti-tail” is made from dust that has recently been left behind by the comet in its orbital plane around the Sun. This phenomenon typically occurs only when Earth passes through the orbital plane, those particles is illuminated by the Sun and reflects back to Earth, giving the impression of a “second” tail.
“หางย้อน” เกิดจากซากฝุ่นที่ดาวหางทิ้งเอาไว้จากการโคจรรอบดวงอาทิตย์ โดยปกติแล้วปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อโลกเคลื่อนผ่านระนาบวงโคจรของดาวหางเท่านั้น เศษซากที่เหลือนี้ถูกส่องสว่างโดยดวงอาทิตย์และสะท้อนกลับมายังโลกทำให้ดูเหมือนว่าเป็น “หางที่สอง” ของดาวหางดวงนั้นๆ
(Credits: Anti-tail of Tsuchinshan-ATLAS on Oct 19, 2024; “Orbital Odyssey” by Dimitris Dedes – Meteora Rocks Kalabaka, Thessaly, Greece.)
It doesn’t last long, often only visible for a limited period of time as the comet moves through space. Despite its fleeting nature, seeing an anti-tail is certainly a rare and delightful treat for astronomers and skywatchers around the world.
หางย้อนมักจะปรากฏขึ้นไม่นานนัก มองเห็นได้เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้นในขณะที่ดาวหางเคลื่อนผ่านอวกาศ แม้จะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นชั่วคราว แต่การได้เห็นหางย้อนก็เป็นประสบการณ์ที่หายากและน่าประทับใจสำหรับนักดาราศาสตร์และนักสังเกตุการณ์ท้องฟ้าทั่วโลกแน่นอน
(Credits: Anti-tail of Tsuchinshan-ATLAS on Oct 15, 2024 by Bray Falls / Astrofalls)
Understanding how an anti-tail forms can deepen our appreciation for the complex dynamics of comets. It’s a reminder of how the cosmos constantly plays with light and perspective, creating sights that can surprise even the most experienced observers.
ความเข้าใจในเรื่องของการก่อตัวของหางย้อน ช่วยให้เราตระหนักถึงความซับซ้อนของดาวหางมากขึ้น มันเป็นเครื่องเตือนใจถึงการเล่นแสงและมุมมองของจักรวาลที่สามารถสร้างภาพที่ทำให้เรารู้สึกประหลาดใจได้เสมอแม้กับผู้สังเกตุการณ์ที่มีประสบการณ์มานานก็ตาม
(Credits: Anti-tail of Tsuchinshan-ATLAS on Oct 19, 2024 by Dawid Glawdzin)
Anti-tail of C/2023 A3 (Tsuchinshan-ATLAS)
For the “once-in-a-lifetime” comet Tsuchinshan-ATLAS, Earth was crossing the comet’s orbital plane on Oct 13. So, last week (Oct 13-19) might be the best time to get the stunning images of its “anti-tail”.
โดยสำหรับ ดาวหาง C/2023 A3 (Tsuchinshan-ATLAS) ที่มนุษย์เราจะเห็นได้เพียงครั้งหนึ่งในชีวิตนี้ โลกได้เคลื่อนผ่านระนาบวงโคจรของดาวหางเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ดังนั้น ในสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 13-19) น่าจะเป็น ช่วงเวลาที่ดีที่สุด ที่เราจะสามารถเห็นภาพสวยๆ ของ “หางย้อน” ของดาวหางดวงนี้