การมาเยือนของดาวหาง C/2023 A3 (Tsuchinshan-ATLAS)

ดาวหาง .. เจ้าก้อนหิมะสกปรก (Dirty Snowballs)

comets_structure

ที่มา: สมาคมดาราศาสตร์ไทย (Thai Astronomical Society)

เมื่อรังสีและลมสุริยะจากดวงอาทิตย์พัดมาปะทะกับดาวหาง จะกวาดให้ฝุ่นและก๊าซปลิวไปด้านหลัง จนมองเห็นเป็น “หาง” อันเป็นเอกลักษณ์ของดาวหาง โดย “หางของดาวหาง หรือ Comet Tail” นี้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

ส่วนแรก: เป็นฝุ่นที่มีอนุภาคใหญ่กว่าแก๊ส จึงได้รับอิทธิพลจากลมสุริยะน้อยกว่าแก๊ส กลุ่มของฝุ่นจึงแยกออกจากส่วนที่เป็นหางแก๊ส แนวที่ฝุ่นหลุดลอยออกจากโคม่า กวาดโค้งไปตามเส้นทางการเคลื่อนที่ของดาวหาง หางส่วนนี้เรียกว่า “หางฝุ่น (Dust Tail)

หากโลกเคลื่อนผ่านเข้าไปในหางฝุ่นนี้ อนุภาคฝุ่นในหางจะเข้าสู่ชั้นบรรยากาศชั้นบนของโลก เกิดการเผาไหม้กลายเป็น “ดาวตก หรือ Shooting Stars

ส่วนที่สอง: เกิดจากโมเลกุลที่ถูกทำให้เป็นไอออนโดยรังสีจากดวงอาทิตย์ แล้วถูกลมสุริยะพัดออกไปตามแนวตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ หางส่วนนี้จึงมักเหยียดตรง เรียกว่า “หางก๊าซ หางพลาสมา หรือ หางไอออน (Ion Tail)

ไอออนในหาง ส่วนใหญ่เป็นไอออนประจุบวกของ คาร์บอนมอนอกไซด์ หรือ CO ที่มีคุณสมบัติกระเจิงแสงสีฟ้าได้ดีกว่าแสงสีแดง ทำให้เมื่อถ่ายภาพดาวหางออกมา หางตรงส่วนนี้จึงมองเห็นเป็น “สีฟ้า

comet parts

ที่มา: Star Walk 2

ดาวหาง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

ดาวหางคาบสั้น (Short-period Comets) เป็นดาวหางที่ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ น้อยกว่า 200 ปี และจะกลับมาเยือนระบบสุริยะบ่อยๆ เช่น ดาวหางฮัลเล่ย์ Halley’s Comet ที่มีวงโคจร 75-76 ปี ที่มาเยือนโลกเมื่อปี 1986 และจะกลับมาอีกครั้งในปี 2061) มีแหล่งกำเนิดมาจาก “แถบไคเปอร์ (The Kuiper Belt)” ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูน (NEPTUNE) ออกไปไกล อยู่ด้านนอกสุดของระบบสุริยะ มีลักษณะเป็นแถบน้ำแข็งรูปทรงคล้ายโดนัทจำนวนมาก

เมื่อปี 1930 “ดาวพลูโต (PLUTO)” เคยถูกพบในแถบไคเปอร์นี้เช่นกัน จนได้ชื่อว่าเป็น “ดาวเคราะห์ดวงที่ 9” ของระบบสุริยะ แต่ต่อมา ด้วยความที่มีขนาดเล็กมาก จึงถูกลดสถานะเป็นเพียงแค่ “ดาวเคราะห์แคระ หรือ Dwarf Planets” แทน

Kuiper Belt - Oort Cloud

ที่มา: Star Walk 2

ดาวหางคาบยาว (Long-Period Comets) เป็นดาวหางที่ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 200 – 1,000 ปี มีแหล่งกำเนิดมาจาก “กลุ่มเมฆออร์ต (the Oort Cloud)” ซึ่งเป็นชั้นเมฆในอวกาศ มีลักษณะคล้ายเปลือกทรงกลมขนาดยักษ์ที่อยู่ล้อมรอบระบบสุริยะของเรา เปรียบเสมือนฟองขนาดใหญ่ที่มีผนังหนาที่ทำจากเศษน้ำแข็งขนาดเท่าภูเขา (หรือใหญ่กว่า)

ดางหางไร้คาบ (Non-periodic comets) เป็นดาวหางที่ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ มากกว่า 1,000 ปีขึ้นไป มีวงโคจรแบบ Hyperbolic หรือ Parabolic ซึ่งมักจะเข้ามาในระบบสุริยะชั้นในเพียงครั้งเดียว มีแหล่งกำเนิดมาจาก “กลุ่มเมฆออร์ต (the Oort Cloud)” เช่นกัน

Comet_Orbit

ที่มา: สมาคมดาราศาสตร์ไทย (Thai Astronomical Society)

ดาวหางที่มี วงโคจรแบบวงกลม (Circula Orbit) หรือ วงรี (Elliptical Orbit) จะโคจรรอบดวงอาทิตย์ตามคาบเวลาของตนเองต่อไปเรื่อยๆ ในขณะที่ ดาวหางที่มี วงโคจรแบบพาราโบลา (Parabolic Orbit) หรือ ไฮเปอร์โบลา (Hyperbolic Orbit) หลังจากโคจรเข้าสู่ดวงอาทิตย์แล้ว อาจเบี่ยงออกสู่อวกาศ และไม่กลับมาเข้ามาในระบบสุริยะอีกเลยก็เป็นได้

ในสมัยโบราณ ผู้คนชอบเปรียบเทียบ “ดาวหาง” ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคร้าย เมื่อดาวหางปรากฏครั้งใด ก็จะนำหายนะมาสู่โลกเสมอ แต่เมื่อการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้ามาแทนที่ คนเริ่มเข้าใจองค์ประกอบและการกำเนิดของดาวหาง ทำให้ความเชื่อในโชคลางและความหวาดกลัวดังกล่าวค่อยๆ ลดน้อยลง ในปัจจุบันดาวหาง รวมถึงปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ต่างๆ ได้รับความสนใจจากผู้คนทั่วโลก ทั้งในเรื่องของการนำข้อมูลและภาพถ่ายหรือคลิปวีดีโอมาแบ่งปันกัน

Tsuchinshan_ATLAS

ที่มา: Star Walk 2

ที่มา: Star Walk 2

ปัจจุบัน ดาวหาง Tsuchinshan-ATLAS นี้ อยู่ใน “กลุ่มดาว SEXTANS” ซึ่งเป็นกลุ่มดาวขนาดเล็กที่อยู่ใกล้กันกับ เส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า (Celestial Equator) เป็น ดาวหางไม่มีคาบแน่นอน หรือ Non-periodic comets ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ถึง 80,000 ปี มีแหล่งกำเนิดมาจาก “กลุ่มเมฆออร์ต (the Oort Cloud)

Sextans_Tsuchinshan_ATLAS

ที่มา: Star Walk 2

ดาวหาง Tsuchinshan-ATLAS ถูกตั้งชื่อว่า “Tsuchinshan-ATLAS” เพื่อเป็นเกียรติต่อหน่วยงานที่ค้นพบทั้ง 2 แห่ง ได้แก่

1) ภาพจากหอดูดาว Purple Mountain Observatory – CAS (Chinese Academy of Sciences หรือ Tsuchinshan Chinese Observatory) ที่ตั้งอยู่บนภูเขาจื่อจินซาน เมืองหนานจิง มณฑลเจียงซู ประเทศจีน ค้นพบดาวหางนี้เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2023

Purple_Mountain_Observatory_CAS

ที่มา: Purple Mountain Observatory

2) ภาพจากกล้องโทรทรรศน์ในโครงการ ATLAS (Asteroid Terrestrial-impact Last Alert System) ที่ประจำอยู่ในประเทศแอฟริกาใต้ จับภาพดาวหางนี้ได้เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2023

ATLAS เป็นโครงการเกี่ยวกับการเฝ้าคอยระวังและเตือนภัย หากมีดาวเคราะห์น้อยที่อาจพุ่งชนหรือส่งผลกระทบใดๆ ต่อโลก ที่ NASA สนับสนุนเงินทุนให้แก่ “มหาวิทยาลัยฮาวาย (University of Hawaii)” โดยมีสถาบันดาราศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเป็นผู้ดูแลโครงการ โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ในหอดูดาวทั้งหมด 4 ตัว (2 ตัวในฮาวาย 1 ตัวในชิลี และอีก 1 ตัวในแอฟริกาใต้) คอยสอดส่องตรวจตราบนท้องฟ้าทุกค่ำคืนเพื่อเฝ้าระวังวัตถุที่เคลื่อนไหวต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อโลกของเรา

ที่มา: ATLAS – Asteroid Terrestrial-impact Last Alert System

ก่อนที่จะไปพูดถึงการสังเกตุการณ์ดาวหาง จำเป็นต้องเข้าใจในเรื่องของ “อันดับความสว่าง หรือ แมกนิจูด (Magnitude)” เสียก่อน

อันดับความสว่าง (Magnitude) ระบุด้วยตัวเลขอย่างเดียว ไม่มีหน่วย ค่าตัวเลขแมกนิจูดกับความสว่างจะสวนทางกัน นั่นคือ ตัวเลขยิ่งต่ำ ความสว่างยิ่งมาก ตัวเลขยิ่งมาก ความสว่างยิ่งน้อย

ตัวเลขอันดับที่ต่างกัน 1 อันดับ จะมีความสว่างต่างกันประมาณ 2.512 เท่า

ดาวริบหรี่ที่สุดที่พอมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในสภาพท้องฟ้ากลางคืน ที่ปลอดโปร่งแจ่มใส ไร้เมฆ ปราศจากแสงไฟและแสงจันทร์รบกวน จะมีอันดับความสว่างที่ 6

ดังนั้น ดาวหางที่จะเห็นได้ด้วยตาเปล่า ต้องมีอันดับความสว่างเป็นตัวเลขน้อยกว่า 6 หรือเป็นลบลงไป

หมายเหตุ: ความหมายของ “อันดับความสว่าง” นี้ เราเรียกว่า “โชติมาตรปรากฏ หรือ Apparent Magnitude” ซึ่งเป็น “ความสว่างตามที่ตามองเห็น” จากโลกเท่านั้น ไม่ใช่ “ความสว่างที่แท้จริง” ของดวงดาว ดาวหาง หรือแหล่งกำเนิดแสงนั้นๆ ดาวที่สว่างมากแต่หากอยู่ไกลมาก ก็จะปรากฏเพียงริบหรี่ ดาวที่ริบหรี่แต่อยู่ใกล้ ก็อาจปรากฏว่าสว่างมาก เป็นต้น

ในวันที่ “27 กันยายน” ดาวหาง Tsuchinshan-ATLAS โคจรเข้า “ใกล้” ดวงอาทิตย์ที่สุด (Perihelion) ทำให้ดาวหางจะมีความสว่างที่สุด

Magnitude_Tsuchinshan-ATLAS

ที่มา: Sky LIVE

ดังนั้น ในช่วงที่ดาวหางโคจรถึงจุดที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ใกล้โลกที่สุด และมีอันดับความสว่าง หรือ Magnitude ในระดับที่จะทำให้ “มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า” ดังเช่นเดือน กันยายนถึงตุลาคม ปีนี้ จึงทำให้ดาวหางดวงนี้เป็นที่น่าจับตามองจากนักดาราศาสตร์และผู้คนทั่วโลก

หลังจากดาวหางผ่านจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด การสังเกตดาวหาง Tsuchinshan-ATLAS จากประเทศไทยอาจแบ่งได้เป็น 2 ช่วง

ช่วงแรก คือ เวลาเช้ามืด ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ทางทิศตะวันออก และ

ช่วงที่สอง คือ เวลาหัวค่ำ หลังพระอาทิตย์ตก ทางทิศตะวันตก

หากอาศัยอยู่ในสถานที่ห่างจากตัวเมืองที่มีท้องฟ้าเปิดโล่ง หรือสังเกตจากสถานที่สูง สภาพอากาศปลอดโปร่ง หรืออยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล มีโอกาสมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าสูง แต่หากอาศัยอยู่ในตัวเมืองที่มีแสงไฟรบกวน แสงจากดวงอาทิตย์ยามเช้าอาจเป็นอุปสรรค อาจทำให้การสังเกตุการณ์ด้วยตาเปล่าไม่เพียงพอ แนะนำให้ใช้ กล้องสองตา (Binoculars) หรือ กล้องโทรทรรศน์ (Telescope) เพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

หมายเหตุ: ในระหว่างปี 2000-2099 ดาวหาง Tsuchinshan-ATLAS โคจรเข้า “ใกล้” โลกที่สุด ในวันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม 2024

tsuchinshan

ที่มา: สมาคมดาราศาสตร์ไทย (Thai Astronomical Society)

tsuchinshan_atlas

ที่มา: สมาคมดาราศาสตร์ไทย (Thai Astronomical Society)

Orbit_Diagram_Tsuchinshan_Atlas

ที่มา: The Sky LIVE

Share this with your friends via:
Scroll to Top