NAMING OF COMETS
by International Astronomial Union (IAU)
โดยปกติแล้ว การตั้งชื่อดาวหาง (Naming of Comets) จะดำเนินการโดย สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล หรือ International Astronomical Union (IAU) ซึ่งเป็นองค์กรที่รวมกลุ่มสมาคมดาราศาสตร์ต่างๆ จากทั่วโลกไว้ด้วยกันและเป็นสมาชิกของ สภาวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ หรือ International Science Council (ISC)
สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU) มีบทบาทหน้าที่ในการ “ตั้งชื่อ” ให้แก่ วัตถุท้องฟ้าทั้งในและนอกระบบสุริยะ ตัวอย่างเช่น ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ฝนดาวตก ดาวหาง ดาวฤกษ์ กลุ่มดาว เนบิวลา กาแล็กซี่ รวมไปถึงวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์อื่นๆ ทุกชนิด
ในช่วงศตวรรษที่ 19 ดาวหางจะได้รับการตั้งชื่อหลังจากที่มันปรากฏตัวเป็นครั้งที่สองเท่านั้น สำหรับดาวหางที่ปรากฏตัวเพียงครั้งเดียวจะมีการนำเอา ปีที่ค้นพบ ตัวเลข (เลขอารบิกหรือเลขโรมัน) และตัวอักษร มาประกอบกันให้เป็นชื่อเรียกดาวหางนั้นๆ เป็นหลัก และใน “บางครั้ง” อาจมีการใส่ ชื่อของผู้ค้นพบ (Discoverer) ไว้ในวงเล็บด้วย จนมาในศตวรรษที่ 20 ชื่อของผู้ค้นพบ จึงนำมาใส่ในวงเล็บต่อท้ายชื่ออย่างเป็นทางการ “เสมอ”
รูปแบบการตั้งชื่อ (Naming Pattern)
เมื่อดาวหางใดๆ ถูกค้นพบ ศูนย์ดาวเคราะห์น้อย หรือ Minor Planet Center (MPC) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU) จะทำหน้าที่ตรวจสอบ คำนวณวงโคจร และยืนยันตัวตนให้เสร็จเรียบร้อย และประกาศชื่อดาวหางนั้นๆ ใน บัญชีดาวหาง (Comet Index) โดยชื่อที่ใช้เรียกดาวหางนั้นๆ จะเป็นไปตามการตั้งชื่อที่กำหนดไว้โดย สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU) ซึ่งมีรูปแบบดังต่อไปนี้
P (Prefix)
คือ คำนำหน้า ระบุ “ชนิด” ของดาวหาง ได้แก่
- I/ หมายถึง วัตถุท้องฟ้าที่อยู่ท่ามกลางดวงดาวต่างๆ ที่เคยถูกระบุว่าเป็นดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางมาก่อน
- P/ หมายถึง ดาวหางคาบสั้น (Periodic Comet)
- C/ หมายถึง ดาวหางคาบยาว หรือไม่มีคาบ (Non-periodic Comet)
- X/ หมายถึง ดาวหางที่คำนวณวงโคจรไม่ได้ เนื่องจากมีข้อมูลไม่เพียงพอ เช่น ดาวหางในอดีต (Comet with no reliable calculated orbit, e.g., historical comets)
- D/ หมายถึง ดาวหางคาบสั้น ที่สลายหรือสาบสูญไปแล้ว (Periodice comet that has disappeared, broken up or been lost)
- และอื่นๆ (etc.)
YYYY (Year of Discovery)
คือ ปี ค.ศ. ที่ค้นพบ (4-digit number in A.D.)
H (Half-month)
คือ ตัวอักษร ที่ระบุ “รายปักษ์” ว่าดาวหางนั้นถูกค้นพบในเดือนไหน โดยไล่ตัวอักษรจาก A-Y (ยกเว้นการใช้อักษร “I” กับ “Z”)
ตัวอย่างเช่น
“A” หมายถึง ปักษ์แรกของเดือนมกราคม และ “B” หมายถึง ปักษ์ที่สอง (ปักษ์หลัง) ของเดือนมกราคม
(A = the first half of January and B = the second half of January)
O (Order no. of Discovery)
คือ ลำดับที่ของการค้นพบในปักษ์นั้นๆ
ตัวอย่าง (Example)
C = Non-periodic comet (ดาวหางคาบยาว หรือ ไม่มีคาบ)
2023 = Year of discovery (ปีที่ค้นพบ)
A = First-half of January (ปักษ์แรกของเดือนมกราคม; 9 มกราคม)
3 = the 3rd comet discovered in the same period / half (ดาวหางลำดับที่ 3 ที่ค้นพบในปักษ์แรก)
Tsuchinshan = Discovery was made using the telescopes of the Purple Mountain Observatory (ดาวหางถูกค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์จากหอดูดาว Purple Mountain Observator ที่ตั้งอยู่บนภูเขา Tsuchinshan ในประเทศจีน)
ATLAS = Discovery was made using the telescopes of the Asteriod Terrestrial Impact Last Alert System (ดาวหางถูกค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์จากโครงการ ATLAS / NASA)