ครั้งแรกและครั้งเดียว กับดาวหาง C/2023 A3 (Tsuchinshan-ATLAS)

Comet C-2023 A3 (Tsuchinshan-ATLAS) (09-24-24) YBeletsky

หลังจากที่ ดาวหาง C/2023 A3 (Tsuchinshan-ATLAS) โคจรเข้าไป “ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด (Perihelion)” เมื่อวันที่ 27 กันยายน (Magnitude ประมาณ 3.0) และสามารถอยู่รอดจากการแตกสลายมาได้

C-2023 A3 (Tsuchinshan-ATLAS) on Perihelion Day, 27 Sep 2024
C/2023 A3 (Tsuchinshan-ATLAS) in Virgo on Oct 13, 2024.

หมายเหตุ: อันดับความสว่าง หรือ โชติมาตร (Magnitude) ตัวเลขนี้ ค่ายิ่งสูง ยิ่งสว่างน้อย ตัวเลขยิ่งน้อย ยิ่งสว่างมาก ค่า Mag ที่ต่างกัน 1 (ไม่มีหน่วย) จะมีความสว่างต่างกันประมาณ 2.512 เท่า โดย Mag ที่เราจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าสำหรับวัตถุในอวกาศ คือ 6 และสำหรับดาวหาง คือ 4 (เนื่องจากดาวหางไม่ได้สว่างเป็นจุดเหมือนดาวฤกษ์ แต่สว่างกระจายแบบเดียวกับกาแล๊คซี่หรือเนบิวลา ทำให้ดูสว่างน้อยกว่าดาวที่มี Mag เท่ากัน)

หลังจากนั้น ดาวหางจะเริ่มโคจรห่างออกจากโลกและดวงอาทิตย์ไปเรื่อยๆ มีค่า Mag สูงขึ้นจาก 0.5 – 3.9 ที่ระยะ 0.477 – 0.943 AU (71.55 – 141.45 ล้าน กม.) ในวันที่ 31 ตุลาคม (จากการคำนวณและคาดการณ์ปัจจุบัน ณ วันที่ 12 ตุลาคม)

Predictions for the visibility of C-2023 A3 (Tsuchinshan-ATLAS) in October
Comet C-2023 A3 (Tsuchunshan-ATLAS) at Moonrise by Gabriel Zaparolli

เคยมีนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งทำนายไว้ว่า ดาวหาง Tsuchinshan-ATLAS อาจจะแตกสลายออกเมื่อโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด แต่มันกลับสามารถอยู่รอดมาได้ และสว่างมากกว่าที่คาดไว้เสียอีก!

Hale-Bopp Comet

ดาวหาง Hale-Bopp เป็นดาวหางคาบยาว (Long-period comets) ที่มีวงโคจรประมาณ 2,362 ปี ถูกค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน 2 คน คือ Alan Hale จาก New Mexico และ Thomas Bopp จาก Arizona เมื่อวันที่ 23 กรกฏาคม 2535 ในเวลาไล่เลี่ยกันแต่ต่างสถานที่ ดาวหางดวงนี้จึงถูกตั้งชื่อว่า Hale-Bopp เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบทั้ง 2 ท่าน

ดาวหางHale-Bopp เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่มาก โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางเกือบ 40 กิโลเมตร สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า เป็นสถิติยาวนานที่สุดถึง 18 เดือน (พฤษภาคม 1996 – ธันวาคม 1997) โดยมี Absolute Magnitude สูงสุดอยู่ที่ -1.8 ในเดือน เมษายน 1997 (Perihelion) ถือว่าหายากมากสำหรับดาวหางทั่วไป

southern-northern-hemisphere

ในซีกโลกเหนือ (Northern Hemisphere) ที่ประเทศไทยตั้งอยู่นั้น การสำรวจดาวหางดวงนี้ ทำได้ 2 ระยะ คือ

หมายเหตุ: ระหว่างวันที่ 3-10 ตุลาคม ดาวหางอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากเกินกว่าจะสามารถมองเห็นได้

เนื่องจากดาวหางจะอยู่ในองศาที่ใกล้เส้นขอบฟ้า (หรือสูงขึ้นไปไม่มากในช่วงปลายเดือนตุลาคม) หากต้องการมองเห็นด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน จำเป็นต้องอยู่ในบริเวณที่ฟ้าเปิด ท้องฟ้ามึดสนิท ห่างจากแสง มลภาวะทางอากาศ หรือตึกสูงในเมืองหลวง เช่น สวนสาธารณะ ชนบท หรือ พื้นที่สูงในป่าเขา หากมีกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ จะยิ่งช่วยให้เห็นดาวหางได้อย่างสวยงามและชัดเจนมากขึ้น

Comet_Orbit
Kuiper Belt - Oort Cloud
  • COBS – Comet Observation database
  • Star Walk 2
  • The Sky LIVE
  • Friends of NASA
Share this with your friends via:
Scroll to Top