The History of Christmas and the Iconic Santa Claus: ประวัติวันคริสต์มาสและตำนานซานตาครอส

Santa Claus and Christmas Tree
Christmas, Icon Siam

[Photo Credits: ICONSIAM]

ทุกๆ ปี เมื่อความหนาวเย็นเริ่มมาทักทายในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน หลายคนทั่วโลกเริ่มต้นการเฉลิมฉลองด้วยเทศกาล “วันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving Day)” ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการ “ขอบคุณ” สิ่งดีๆ ในชีวิต การรับประทานอาหารและใช้เวลาอยู่ร่วมกันของสมาชิกในครอบครัวหรือกลุ่มเพื่อนสนิท ผู้คนจะหยุดพักจากความวุ่นวายของชีวิต เพื่อแสดงความกตัญญูต่อพรที่ได้รับ ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพที่ดี ครอบครัวที่อบอุ่น หรือความรักที่อยู่รอบตัว แม้รูปแบบการเฉลิมฉลองจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย แต่สาระสำคัญยังคงเหมือนเดิม นั่นคือการสร้างความสัมพันธ์ แบ่งปันความสุข และการแสดงความขอบคุณ

Thanksgiving

[Photo Credits: Thanksgiving; Boston University]

หาก “วันขอบคุณพระเจ้า” ในเดือนพฤศจิกายน สอนให้เรา “ซาบซึ้งใจ” กับสิ่งที่เรามีอยู่ …

… “วันคริสต์มาส” ซึ่งตามมาในเดือนธันวาคม ถือเป็นเทศกาลที่เตือนให้เรา “มอบความสุข” นั้นให้แก่ผู้อื่น ด้วยการให้ของขวัญ การแบ่งปันอาหาร และการร่วมฉลองกันอย่างอบอุ่น ในเทศกาลคริสต์มาสที่มาถึง

Christmas Tree and Gifts

บทความนี้จะพาคุณย้อนกลับไปสำรวจเรื่องราวของ “วันคริสต์มาส” ว่ามีที่มาอย่างไร และเหตุใด “ซานตาคลอส” จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ที่เด็กและผู้คนนิยมมากที่สุดของเทศกาลอันศักดิ์สิทธิ์นี้ได้

ถึงแม้วันประสูติที่แท้จริงของพระเยซูคริสต์จะยังคงเป็นปริศนา มิได้มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดหรือถูกระบุไว้ชัดเจนในพระคัมภีร์ไบเบิล แต่ในช่วงศตวรรษที่ 4 คริสตจักรคาทอลิกได้กำหนดเอาวันที่ “25 ธันวาคม” เป็น “วันเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซูคริสต์” โดยมีที่มาดังต่อไปนี้

ถึงแม้วันที่ 25 ธันวาคม จะไม่ใช่วันประสูติที่แท้จริงของพระเยซูคริสต์ แต่ถูกเลือกโดยมีเหตุผลทั้งทางวัฒนธรรมและศาสนา เพื่อให้เทศกาลคริสต์มาสสอดคล้องกับประเพณีและความเชื่อของคนในยุคนั้น โดยเน้นสัญลักษณ์ของ “แสงสว่าง” และ “การเริ่มต้นใหม่” ซึ่งเหมาะกับพระเยซูในฐานะศูนย์กลางของศาสนาคริสต์ ต่อมา วันคริสต์มาสจึงค่อยๆ แพร่หลายไปทั่วโลก และผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่น จนกลายเป็นเทศกาลที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน

คืนก่อนวันคริสต์มาส ถือเป็นคืนแห่งการรอคอยการประสูติของพระเยซู มีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและการเข้าโบสถ์หรือวัดของคริสตศาสนิกชนทั่วโลก เพื่อร่วมพิธีมิสซาเที่ยงคืน (Mignight Mass) บรรยากาศเต็มไปด้วยความศักดิ์สิทธิ์ เงียบสงบ อบอุ่น และโรแมนติก เตรียมตัวเข้าสู่วันคริสต์มาสอย่างเป็นทางการ

บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุก ร่าเริงสดใส ของการเฉลิมฉลอง มีการตกแต่งบ้านเรือนด้วยแสงไฟ ต้นคริสต์มาส ของประดับ และของขวัญที่แจกจ่ายให้แก่กัน

คำว่า “คริสต์มาส” ในภาษาไทย มีที่มาจากคำในภาษาอังกฤษว่า “Christmas” ซึ่งเป็นการผสมคำระหว่าง

เมื่อรวมกันแล้ว คำว่า “Christmas” จึงมีความหมายว่า “พิธีมิสซาเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซูคริสต์”

ในภาษาอังกฤษโบราณ (Old English) คำว่า คริสต์มาส นี้ จะเขียนว่า “Criste Maesse” ซึ่งแปลว่า “Christ’s Mass” ปรากฎขึ้นราวศตวรรษที่ 11 ซึ่งคริสต์ศาสนิกชนใช้เพื่อเฉลิมฉลองวันประสูติของพระเยซูคริสต์

ภาษาอังกฤษโบราณ จะมีการอ่านออกเสียงแตกต่างจากภาษาอังกฤษสมัยใหม่อย่างมีนัยยะสำคัญ หากจะอ้างอิงจากหลักการอ่านออกเสียงของ IPA (International Phonetic Alphabet) “Criste” จะออกเสียงว่า kristə (คริส-เตอะ) ส่วน “Maesse” จะออกเสียงว่า mæsːe (แมส-เซ) โดยคำศัพท์ภาษาอังกฤษยุคโบราณมักจะออกเสียงเต็มคำอย่างชัดเจน ไม่มี Silent letters (พยัญชนะที่ไม่ออกเสียง เช่น พยัญชนะ B ในคำว่า Debt, Doubt, Dumb ที่ไม่มีการออกเสียง b) หรือ Blended vowels (เสียงสระประสม เช่น สระเอีย สระเอือ สระอัว) อย่างที่เราเห็นกันในคำศัพท์ของภาษาอังกฤษสมัยใหม่

คำอวยพรที่เรานิยมใช้กันในเทศกาลวันคริสตมาสนี้ มีอยู่ 2 แบบ ได้แก่

  • Merry Christmas: สื่อถึง ความร่าเริง สนุกสนาน และความเบิกบานอย่างมีชีวิตชีวา เน้นถึงความรื่นเริงและบรรยากาศแห่งการเฉลิมฉลองในเทศกาลคริสต์มาส เป็นวลีที่ใช้กันทั่วไปในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และอีกหลายประเทศทั่วโลก
  • Happy Christmas: สื่อถึง ความสุข ความสงบ และความพึงพอใจในชีวิต โดยให้ความรู้สึกที่สงบ สง่างาม และเป็นทางการ มากกว่าคำว่า “Merry” เป็นวลีที่พบได้บ่อยในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์

สามารถเลือกใช้ได้ตามความชอบส่วนตัว หรือวัฒนธรรมที่ตนเองคุ้นเคย

ตัวอักษร “X” ในคำว่า “Xmas” มาจาก “Chi หรือ Χ” (พยัญชนะในภาษากรีก อ่านออกเสียงว่า “ไค”) ซึ่งเป็นอักษรตัวแรกของคำว่า “Χριστός (Christos)” ซึ่งหมายถึง “Christ”

คำย่อ “Xmas” นี้ถูกใช้ในบริบทของศาสนาคริสต์มานานหลายศตวรรษ ย้อนหลังไปถึงอย่างน้อยศตวรรษที่ 16 เป็นคำย่อที่มีที่มาทางประวัติศาสตร์อย่างลึกซึ้งและยาวนาน ดังนั้น Xmas ไม่ได้เป็นคำที่คิดค้นขึ้นมาใหม่ หรือเป็นการไม่ให้เกียรติความสำคัญทางศาสนาแต่อย่างใด

เนื่องจาก ในคำว่า “Xmas” ตัวอักษร “X” นั้น ได้แทนที่คำว่า “Christ” อยู่แล้ว ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องหมาย “Apostrophe” คั่นกลางระหว่างคำว่า X กับ mas

ในบรรดาบุคคลในตำนานที่เกี่ยวข้องกับวันคริสต์มาส ไม่มีใครโดดเด่นมากไปกว่า ซานตาครอส ผู้ที่มาจากการผสมผสานของประเพณีและเรื่องราวที่มีมายาวนานหลายศตวรรษ โดยต้นกำเนิดของซานตาครอส มีรากฐานมาจากเรื่องสำคัญต่างๆ ดังต่อไปนี้

กวางเรนเดียร์ของซานตาคลอส ปรากฏตัวครั้งแรกในบทกวีที่ชื่อ “Account of A Visit from St. Nicholas” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “Twas the Night Before Christmas” เขียนโดย Clement Clarke Moore และถูกตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ที่วางจำหน่ายสองครั้งต่อสัปดาห์อย่าง “Troy Sentinel” ในวันที่ 23 ธันวาคม 1823

Reindeer names in Account of a Visit from St. Nicholas.
Reindeer names

(หมายเหตุ: Robert Lewis May ผู้ที่มีชื่อเสียงในการสร้างตัวละครสมมติ ได้เพิ่มกวางตัวที่ 9 เข้าไปในหนังสือเรื่อง “Rudolph the Red-Nosed Reindeer” เมื่อปี ค.ศ. 1939)

Rudolph, The Red-Nosed Reindeer by Robert L. May

นักเขียนท่านหนึ่ง นามว่า Ronald D.Lankford เคยอธิบายไว้ว่า เรื่องราวของรูดอล์ฟถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้แก่เด็กอเมริกัน เด็กบางคนอาจถูกมองว่าแตกต่างจากเด็กคนอื่นๆ จนพยายามปกปิดสิ่งที่คิดว่าเป็นปมด้อยของตัวเอง แต่จริงๆ แล้ว ความแตกต่างตรงนั้นอาจเป็นความสามารถพิเศษที่เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นก็ได้ จึงอยากให้เด็กๆ มองเรื่องของรูดอล์ฟเป็นตัวอย่าง พยายามต่อสู้ ไม่รู้สึกท้อแท้ เครียด หรือเสียใจกับสิ่งที่ตนเองถูกคนอื่นในสังคมล้อเลียนหรือเยาะเย้ย

กวางเรนเดียร์ต่างจากกวางทั่วไป คือ ทั้งเพศผู้และเพศเมียสามารถมีเขาได้  ปกติแล้วเพศผู้จะสลัดเขาหลังฤดูผสมพันธุ์ในช่วงปลายปี ส่วนเพศเมียจะเก็บเขาไว้จนถึงฤดูหนาวหรือฤดูใบไม้ผลิ เพื่อช่วยป้องกันอาหารในช่วงที่ตั้งท้อง จึงมีความเชื่อว่า กวางของซานตาที่มีเขาในคืนวันคริสตมาสอีฟน่าจะเป็นตัวเมียทั้งหมด ยิ่งไปกว่านั้น กวางเรนเดียร์ของซานตายังพิเศษตรงที่สามารถบินได้บนน้ำและหลังคาโดยไม่จมหรือทำให้สิ่งใดเสียหาย อีกด้วย

การเปลี่ยนชื่อกวางเรนเดียร์จาก “Dunder (หรือ Donder)” และ “Blixem” มาเป็น “Donner” หรือ “Blitzen” ในบทกวี “A Visit from St.Nicholas” เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางภาษาและวัฒนธรรมตามกาลเวลา

ในบทกวีต้นฉบับที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1823 ใช้คำในภาษาดัตช์ “Dunder” และ “Blixem” ซึ่งมีความหมายว่า “ฟ้าร้อง” และ “ฟ้าผ่า” เพื่อสะท้อนถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมดัตช์ในสหรัฐอเมริกายุคแรก โดยเฉพาะในนิวยอร์กที่เคยเป็นอาณานิคมของดัตช์และถูกเรียกว่า นิวอัมสเตอร์ดัม (New Amsterdam)

ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ภาษาเยอรมันเริ่มได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกา เมื่อบทกวีนี้ได้รับความนิยมและถูกดัดแปลงให้เข้ากับวัฒนธรรมอเมริกัน ชื่อดังกล่าวก็ถูกเปลี่ยนเป็นคำในภาษาเยอรมัน คือ “Donder” และ “Blitzen” ซึ่งมีความหมายเดียวกันแทน และคำเหล่านี้อาจฟังดูไพเราะและเหมาะสมกับจังหวะของบทกวีมากกว่า ต่อมา ในศตวรรษที่ 20 คำว่า “Donner” ถูกนำมาใช้แทน “Donder” คู่หูสองตัวนี้จึงถูกเรียกว่า “Donner” และ “Blitzen” นับแต่นั้นเป็นต้นมา

คำว่า “Twas” เป็นคำย่อของ “It was” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมักใช้ในภาษาอังกฤษแบบเก่าหรือบทกวี เพื่อให้เหมาะกับจังหวะและสไตล์การเขียน

Account of a Visit from St. Nicholas.

ดังนั้น ในประโยคเปิดของบทกวีนี้ที่ว่า “Twas the Night Before Christmas, when all thro the house, Not a creature was stirring, not even a mouse; …” จึงมีความหมายว่า “It was the night before Christmas, when all through the house, Not a creature was stirring, not even a mouse; …” หรือในภาษาไทยที่ว่า “ในคืนก่อนวันคริสต์มาส ทั่วทั้งบ้านไม่มีสัตว์ตัวใดเคลื่อนไหว ไม่มีแม้กระทั่งหนูสักตัว …” ซึ่งเป็นเรื่องปกติในบทกวีหรือการเล่าเรื่อง เพื่อให้จังหวะของคำกลอนราบรื่นและไพเราะยิ่งขึ้น

หรือชื่อเต็มว่า “Silent Night, Holy Night (Stille Nacht, Heilige Nacht) เพลงนี้ถูกแต่งขึ้นเป็นภาษาเยอรมันในปี ค.ศ. 1816 โดยบาทหลวงชาวออสเตรียที่ชื่อ โยเซฟ มอร์ (Joseph Mohr) และคีตกวี ฟรานซ์ ซาเวียร์ กรูเบอร์ (Franz Xaver Gruber) เป็นผู้แต่งทำนองในปี ค.ศ. 1818 ได้รับประกาศให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (An Intangible Cultural Heritage) โดย UNESCO ในปี ค.ศ. 2011

A Jubilee Card done in 1918, when the "Silent Night" song was 100 years old.

Christmas Eve ในปี ค.ศ. 1818 ที่โบสถ์ St. Nicholas ในเมือง Oberndorf ประเทศออสเตรีย คีย์บอร์ดของโบสถ์เสียหายจากอุทกภัย จนไม่สามารถเล่นเพลงในคืนวันคริสต์มาสอีฟนั้นได้ พวกเขาจึงต้องการเพลงง่ายๆ ที่สามารถขับร้องและบรรเลงด้วยกีตาร์ได้ บาทหลวงโยเซฟจึงนำบทกวี Stille Nacht ที่ตนได้แต่งไว้ มาให้ฟรานซ์ช่วยแต่งทำนองสำหรับกีตาร์ให้ และเพลงของพวกเขาถูกขับร้องและบรรเลงเป็นครั้งแรกในพิธีมิสซาคืนนั้น เมื่อเพลงนี้ถูกขับร้องออกไป มันกลายเป็นบทเพลงที่สร้างความสงบสุขและซาบซึ้งแก่ผู้คนจนกลายเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วและถูกแปลเป็นภาษาต่างๆ แพร่หลายไปทั่วโลก

ต่อมา ระหว่างปี ค.ศ. 1890-1899 โบสถ์ St. Nicholas ถูกน้ำท่วมครั้งแล้วครั้งเล่าจากแม่น้ำ Salzach เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมที่สูงและความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมอย่างต่อเนื่องอีก โบสถ์ประจำตำบลเก่าจึงไม่ได้รับการซ่อมแซมและถูกรื้อถอนในปี ค.ศ. 1906 ก่อนจะถูกแทนที่ด้วยโบสถ์ใหม่ใจกลางเมืองในปี ค.ศ. 1924 และแล้วเสร็จในปี ค.ศ.1937

โบสถ์ใหม่ถูกขนามนามว่า “Silent Night Chapel (Stille Nacht Kapelle)” ตามชื่อของเพลงคริสต์มาสที่ถูกขับร้องในโบสถ์เก่า และมีการสร้างโบสถ์แห่งความทรงจำและพิพิธภัณฑ์ขึ้นเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ระลึกถึง ในทุกๆ ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันคริสต์มาส ผู้คนหลายพันคนจากทั่วโลกจะไปเยี่ยมชม ร่วมฟังเพลง Silent Night (Stille Nacht) ที่ถูกแต่งเป็นหลายภาษา และร่วมพิธีมิสซาอันศักดิ์สิทธิ์

ในปี ค.ศ.1914 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เพลง Silent Night ถูกขับร้องโดยทหารฝ่ายตรงข้าม (คือ อังกฤษ และ เยอรมัน) ที่หยุดยิงชั่วคราวในวันคริสต์มาส และร่วมร้องเพลงนี้ด้วยกัน ซึ่งกลายเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่แสดงถึงความเป็นมนุษย์ในประวัติศาสตร์

[Credits: Kelly Clarkson]

เนื้อร้องและทำนองของเพลงนี้ถูกแต่งขึ้นในปี ค.ศ. 1850 โดย เจมส์ ลอร์ด เพียร์พอนต์ (James Lord Pierpont) แต่เพลงนี้ไม่ได้ถูกเขียนขึ้นสำหรับคริสต์มาสโดยตรง ในตอนแรกถูกเผยแพร่ในปี ค.ศ. 1857 ด้วยชื่อว่า “The One Horse Open Sleigh” และถูกตั้งชื่อใหม่เป็น Jingle Bells ในปี 1859 โดย Oliver Ditson

เดิมทีเพลงนี้ถูกแต่งขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาล วันขอบคุณพระเจ้า ในสหรัฐอเมริกา แต่ทำนองที่สนุกสนานและเนื้อเพลงที่พูดถึงการนั่งเลื่อนบนหิมะ ทำให้กลายเป็นเพลงประจำเทศกาลฤดูหนาว รวมถึงคริสต์มาสในที่สุด

Jingle Bells by Thomas P. Stafford and Wally Schirra from Space.

Jingle Bells เป็นหนึ่งในเพลงแรกๆ ที่ออกอากาศจากสถานีอวกาศเมื่อเดือนธันวาคมปี ค.ศ. 1965 จากการเล่นพิเรนทร์ของนักบินอวกาศเพียงสองคนของยาน Gemini 6A ของ NASA ที่ชื่อ Thomas P. Stafford และ Wally Schirra ที่เล่นเพลงนี้ผ่านฮาร์โมนิก้าและกระดิ่งเล็กๆ และส่งข้อความหยอกล้อถึงศูนย์บัญชาการภารกิจเพื่อสร้างความผ่อนคลายให้แก่เพื่อนๆ นักบินด้วยกัน

[Credits: Christmas Songs and Carols]

เพลงนี้มีจุดเริ่มต้นจากบทกวีฝรั่งเศสที่ชื่อว่า “Minuit, chrétiens” ที่เขียนไว้เมื่อปี 1843 เพลงนี้แต่งโดยกวีชาวฝรั่งเศส Placide Cappeau เมื่อปี 1847 และมีนักแต่งเพลงชาวฝรั่งเศส Adolphe Adam เป็นผู้เขียนทำนอง

ความพิเศษของเพลงนี้อยู่ที่ เป็นเพลงคริสต์มาสเพลงแรกที่ถูกเล่นผ่านวิทยุกระจายเสียง ในคืนวันคริสต์มาสอีฟ (วันที่ 24 ธันวาคม ปี 1906) โดยวิศวกรไฟฟ้าชาวอเมริกันที่ชื่อ Reginald Fessenden ซึ่งเขาเล่นเพลงนี้ด้วยไวโอลินและอ่านพระคัมภีร์ผ่านคลื่นวิทยุ ส่งให้แก่ลูกเรือที่อยู่บนเรือเดินสมุทรของบริษัท United Fruit Company ที่อยู่ระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลแคริบเบียน ถือเป็นการ “ออกอากาศทางวิทยุ” ครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลก

[Credits: Mariah Carey]

แม้จะเป็นเพลงที่ไพเราะและมีเนื้อหาลึกซึ้ง แต่ก็เคยถูกคัดค้านโดยคริสตจักรคาทอลิกในฝรั่งเศส เนื่องจากผู้แต่งบทกวีมีแนวคิดที่ต่อต้านศาสนา แต่ในที่สุดเพลงก็ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง

เป็นเพลงที่แต่งและขับร้องโดย Mariah Carey ในปี 1994 เพลงนี้กลายเป็นเพลงคริสต์มาสร่วมสมัยที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม เธอใช้เวลาเพียงแค่ 15 นาทีในการแต่งคำร้องและทำนอง และกลายเป็นเพลงฮิตที่ทำลายสถิติหลายรายการ รวมถึงติดอันดับ 1 บนชาร์ต Billboard หลายครั้งในช่วงคริสต์มาส

[Credits: Mariah Carey]

แม้จะถูกปล่อยออกมานานหลายทศวรรษแล้ว ถือเป็นหนึ่งในไม่กี่เพลงคริสต์มาสที่ยังคงสร้างรายได้มหาศาลในทุกปี

เพลงนี้มีรากฐานมาจากดนตรีพื้นบ้านของยูเครนที่ชื่อว่า “Shchedryk” แต่งโดยคีตกวีชาวยูเครน Mykola Leontovych ในปี 1914 เพลงนี้เดิมทีไม่ได้เกี่ยวข้องกับคริสต์มาสเลย แต่เป็นเพลงพื้นบ้านที่ร้องในช่วงปีใหม่ของชาวยูเครน ทำนองอันทรงพลังนี้ถูกนำไปแปลงเป็นภาษาอังกฤษในปี 1936 โดย Peter J. Wilhousky และกลายเป็นเพลงประจำเทศกาลคริสต์มาสในที่สุด

[Credits: Libera Official]

ด้วยทำนองที่รวดเร็วและก้องกังวาน ทำให้ Carol of the Bells ถูกนำไปใช้ประกอบละครและภาพยนตร์คริสต์มาสหลายเรื่อง หนึ่งในนั้นคือภาพยนตร์เรื่อง Home Alone ภาคแรก ซึ่งนำแสดงโดยหนูน้อย Macauley Culkin ในปี 1990

เรื่องราวของเทศกาลคริสต์มาส ที่ผสมผสานทั้งความสำคัญทางศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม และการเฉลิมฉลองแบบสมัยใหม่ แสดงให้เห็นว่า มีบางสิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา นั่นคือ ความเมตตา ความมีน้ำใจ และความอบอุ่นของมิตรภาพระหว่างผู้คน

ระหว่างที่เรากำลังเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสในแต่ละปี อย่าลืมว่าเรากำลังเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีอันงดงามที่สืบทอดกันมาหลายศตวรรษ และขอให้เราระลึกถึงความหมายที่แท้จริงของเทศกาล ซึ่งไม่ได้อยู่เพียงแค่แสงไฟระยิบระยับ อาหารเลิศรส หรือของขวัญที่ห่อไว้อย่างสวยงาม แต่คริสต์มาสคือช่วงเวลาที่เราควรสะท้อนถึงความรัก ความหวัง และความยินดีที่เกิดจากการให้และการแบ่งปันแก่ผู้อื่น

ขอให้คริสต์มาสนี้ นำความสุข สงบ มาสู่หัวใจของคุณ นำความปีติมาสู่ทุกคนในครอบครัว สุขสันต์วันคริสต์มาส และขอให้คำอวยพรใดๆ ที่มีในเทศกาลนี้ อยู่กับคุณและคนที่คุณรักเสมอ

[Credits: Christmas Songs and Carols]

[Photo Credits: ICONSIAM]

Share this with your friends via:
Scroll to Top