Halloween: Origins, Myths, and Celebrations

ฮาโลวีน: ต้นกำเนิด ตำนาน และการเฉลิมฉลอง

Halloween
Celtic

ในทางดาราศาสตร์ วันฮาโลวีนจะอยู่กึ่งกลางระหว่างวันศารทวิษุวัต (Autumn Equinox) กับวันเหมายัน (Winter Solstice) สำหรับเทศกาลก็คือ การสิ้นสุดของฤดูร้อน หรือ คิมหันตฤดู และการก้าวเข้าสู่ฤดูหนาว หรือ เหมันตฤดู

Cross-quarter days

(Photo credits: NASA)

Celtic - Wheel of the year
Celtic - Wheel of the year

เมื่อสิ้นฤดูของการเก็บเกี่ยว พืชอื่นๆ ตายลง สัตว์ต่างๆ หนีไปจำศีล โลกเสมือนปราศจากสิ่งมีชิวิต ชาวเคลท์จึงมองเทศกาลนี้ว่าเกี่ยวข้องกับความตายและการเปลี่ยนผ่าน และเชื่อว่าวิญญาณของคนตายจะถูกปลดปล่อยจากโลกอื่นมา จึงมีการทิ้งอาหาร-เครื่องดื่มไว้นอกบ้านเพื่อเอาใจวิญญาณที่เร่ร่อน มีการแต่งกายและการสวมหน้ากากเป็นผีให้ดูกลมกลืนเหมือนพวกเดียวกัน เหล่านักบวชมีการก่อกองไฟเพื่อขับไล่วิญญาณชั่วร้าย เป็นต้น

All Saints' Day

(Photo credits: Carmelite Sisters, L.A., California, U.S.A.)

โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 3 (Pope Gregory III) เป็นผู้ริเริ่มด้วยการอุทิศโบสถ์ในมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรมให้แก่นักบุญทั้งหลาย และกำหนดให้วันที่ 1 พฤศจิกายนของทุกปีเป็นวันแห่งการสมโภชนักบุญ ซึ่งถือเป็นงานฉลองท้องถิ่นในกรุงโรม ต่อมา การเฉลิมฉลองนี้ได้แพร่หลายไปทั่วคริสตจักรในสมณสมัยของ สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 4 (Pope Gregory IV)

All Souls' day

(Photo credits: kryczka / Getty Images)

วันภาวนาอุทิศแก่ผู้ล่วงลับนี้ เริ่มต้นขึ้นในศตวรรษที่ 10 โดยนักบุญโอดิโล (Saint Odilo) เจ้าอาวาสของอารามเบเนดิกติน ในเมืองกลูว์นี ประเทศฝรั่งเศส (Benedictine Monastery in Cluny, France) ได้สอนนักพรตในอารามให้ถวายมิสซาและภาวนาแด่ผู้ล่วงลับในวันถัดจากวันสมโภชนักบุญมา 1 วันเพื่อสวดอธิษฐานให้แก่วิญญาณในแดนชำระบาป

ในวันดังกล่าว ผู้คนจะเดินทางไปยังสุสาน ทำความสะอาดหลุมศพ จุดเทียน และวางดอกไม้ บรรยากาศเต็มไปด้วยความสงบและความรักที่มีต่อผู้จากไป

หลังการขยายดินแดนของจักรวรรดิโรมัน วัฒนธรรมของชาวเคลติกโบราณอย่าง “เทศกาลซาวอิน” ที่ถูกมองว่านอกรีตและมืดมน ได้รับการผสมผสานเข้ากับพิธีกรรมของนักบุญแห่งคริสตจักรอย่าง “วันสมโภชนักบุญ” และ “วันภาวนาอุทิศแก่ผู้ล่วงลับ

Halloween

ในส่วนของประเพณี ความเชื่อ รวมถึงองค์ประกอบต่างๆ ในพิธีกรรมของชาวเคลท์ในอดีต ยังคงปฏิบัติสืบต่อไปได้ แต่ถูกปรับใหม่ให้เข้ากับบริบทของชาวคริสเตียน

ในอดีต เนื่องจากชาวเคลท์มีความเชื่อในเรื่องของภูตผีปีศาจและสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ ทำให้เรื่องราวหรือภาพวาดที่เกี่ยวกับเทศกาลนี้จึงดูลึกลับ น่ากลัว โดยมีองค์ประกอบอย่างปีศาจ แม่มด แมงมุม ค้างคาว โครงกระดูก บ้านผีสิง และเรื่องเล่าสยองขวัญต่างๆ โดยมี “Jack-o’-lanterns” เป็นหนึ่งในเรื่องยอดนิยมที่ถูกหยิบยกมาเล่าสืบต่อกันมา

ประเพณี การแกะสลัก Jack-o’-lanterns มีต้นกำเนิดในประเทศไอร์แลนด์ โดยในช่วงแรกๆ นั้นชาวไอริชนิยมใช้ หัวผักกาด (หรือมันฝรั่ง) ซึ่งมีอยู่มากมายจากผลผลิตที่เก็บเกี่ยวมาทำ จากการแกะสลักให้ดูเหมือนหน้าคนในช่วงแรก ก็ถูกออกแบบใหม่ให้สวยงามขึ้นเป็นรูปแบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวันฮาโลวีน จนกลายเป็นผลงานศิลปะที่นำมาตกแต่งบ้านได้เลย

(Photo credits: Lovelygreen.com, Justbeetit.com)

แจ็คโอแลนเทิร์น (Jack-O’-Lantern) ได้รับแรงบันดาลใจมาจากนิทานพื้นบ้านของชาวไอริช (Irish folklore) ที่ว่า ชายหนุ่มคนหนึ่งที่ชื่อ สติงกี้ แจ็ค (Stingy Jack) มีบุคลิกนิสัยฉ้อฉล หลอกลวงปีศาจถึงสองครั้งสองครา จนเมื่อวันหนึ่งเขาเสียชีวิตลง ด้วยผลกรรมที่ทำมาและคำสัญญาที่ปีศาจเคยให้ไว้ ทำให้แจ๊คไม่สามารถขึ้นสวรรค์หรือลงนรกได้ ถูกสาบให้กลายเป็นวิญญาณเร่ร่อนที่ต้องอยู่บนโลกมนุษย์ไปตลอดกาล ในมือมีเพียงตะเกียง 1 ดวงที่ทำจากหัวผักกาด ซึ่งตนได้เจาะรูและวางถ่านหินติดไฟ (ที่ปีศาจมอบไว้ให้) ไว้ด้านในเพื่อส่องสว่างทางเดินให้เท่านั้น

Halloween

ในศตวรรษที่ 19 เมื่อชาวไอริชอพยพไปสูอเมริกา พวกเขาได้นำประเพณีนี้ไปเผยแพร่ด้วย แต่ในการแกะสลักตะเกียง Jack-O’-Lantern ได้ปรับมาใช้ “ฟักทอง” แทน “หัวผักกาด” เนื่องจากฟักทองเป็นผลผลิตที่มีการปลูกกันอย่างแพร่หลาย และมีขนาดใหญ่ ทำให้สามารถแกะสลักได้ง่ายและสวยงามประณีตมากยิ่งขึ้น

นับตั้งแต่มีการเฉลิมฉลองเทศกาล Samhain (วันขึ้นปีใหม่) ของชาวเคลท์ เมื่อสองพันปีก่อน การฉลองวัน All Hallows’ Eve เรื่อยมาจนถึงการเฉลิมฉลองวัน Halloween ในปัจจุบัน มีพิธีกรรม การละเล่น และกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย

เป็นพิธีกรรมที่ประกอบพิธีโดยนักบวช ถือเป็นการเฉลิมฉลองให้กับผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้และเป็นการเผาสัตว์เพื่อบูชายัญแด่เทพเจ้า ไฟที่ก่อขึ้นถือว่าเป็น ไฟศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวบ้านจะนำกลับไปจุดในเตาไฟที่บ้านตนเอง การนำไฟใหม่ไปแทนที่ไฟเก่าเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นใหม่ ไฟศักดิ์สิทธิ์เป็นตัวแทนของดวงอาทิตย์ที่จะช่วยปัดเป่าชำระล้างสิ่งที่ไม่ดีออกไป ให้ชาวบ้านได้อยู่รอดปลอดภัยในตลอดฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึง

Beltane Fire by Brilliant Eye via Shutterstock / Let's go Ireland

(Photo credits: Let’s go Ireland / Brilliant Eye via Shutterstock)

เป็นการละเล่นพื้นบ้าน ที่ผู้เล่นจะถูกมัดมือไพล่หลังไว้ (หรือไม่มัดแต่ห้ามใช้แขนและมือช่วย) และต้องเอาหัวจุ่มลงไปในอ่างน้ำขนาดใหญ่ ใช้ปาก-ฟันคาบผลแอปเปิลที่ลอยอยู่ในน้ำนั้นให้ได้ คนแรกที่ทำได้จะเป็นคนต่อไปที่จะได้แต่งงานหรือมีคู่

Halloween Apple-Bobbling

(Photo credits: In 1886, Irish Halloween Celebrations included bobbling for apples; Hulton Archive / Getty Images)

ในยุคนั้น แอปเปิลถือเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์และการเริ่มต้นชีวิตใหม่ เป็นการสิ้นสุดของฤดูเก็บเกี่ยวหรือฤดูร้อน เพื่อก้าวเข้าสู่ฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึง

ประเพณีการแต่งตัวในวันฮาโลวีนมีต้นกำเนิดจาก เทศกาลซาวอิน ที่ชาวเคลท์เชื่อว่าเป็นช่วงที่โลกของคนเป็นและคนตายเชื่อมต่อกัน ทำให้วิญญาณสามารถเดินทางมายังโลกได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันตนเองจากวิญญาณ ผู้คนจะพากันแต่งตัวด้วยเครื่องแต่งกายที่ทำจากหนังสัตว์ หน้ากาก และเสื้อผ้าขาดๆ โดยมีความเชื่อว่า ถ้าทำให้ตนเองดูเป็นพวกเดียวกันกับวิญญาณร้ายเหล่านั้น จะสามารถรอดพ้นจากการถูกทำร้ายหรือถูกเข้าสิงได้

ในยุคต่อมา เด็กๆ หรือคนหนุ่มสาวจะแต่งตัวด้วยเครื่องแต่งกายแฟนซีตามสมัยนิยม โดยมีวิวัฒนาการมาเรื่อยๆ จากที่นิยมแต่งกาย-แต่งหน้าให้ดูน่ากลัวแบบแม่มด แวมไพร์ ซอมบี้ ผี พัฒนามาเป็นการสวมบทบาทเป็นตัวละครในหนังสยองขวัญ ตัวการ์ตูน super heroes สัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า โจรสลัด ราชา-ราชินี อัศวิน หรืออื่นๆ ตามจินตนาการของแต่ละคนหรือตามธีมของงานปาร์ตี้ที่จัดขึ้น

จะเห็นได้ว่า ประเพณีการแต่งกายในวันฮาโลวีนได้ปรับเปลี่ยนจากความเชื่อที่ต้องการปกป้องตนเองจากวิญญาณชั่วร้ายในอดีต มาเป็นการแสดงออกถึงความสนุกสนานและความคิดสร้างสรรค์ในยุคปัจจุบัน

ในยุคของเคลติกโบราณ มีกิจกรรมที่คล้ายคลึงกับ Trick-or-treating แต่เป็นการที่ชาวบ้านเดินเคาะตามประตูเพื่อนบ้านเพื่อเรี่ยไรอาหาร ผลผลิต และสิ่งของเพื่อมาใช้ในพิธีเฉลิมฉลองเทศกาลซาวอินและการก่อกองไฟศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้าน

การละเล่น Trick-or-treating มีต้นกำเนิดมาจากประเพณี “การสวดภาวนาให้แก่ผู้ล่วงลับ (Souling)” ซึ่งมีขึ้นในอังกฤษและไอร์แลนด์ยุคกลาง ในวันภาวนาอุทิศแก่ผู้ล่วงลับ (All Souls’ Day) ซึ่งก็คือ 2 พฤศจิกายน โดยผู้ที่มีฐานะยากจนจะเดินไปตามบ้านของผู้ที่มีฐานะดีกว่า เพื่อช่วยสวดภาวนาให้แก่วิญญาณผู้ล่วงลับ ปลดปล่อยวิญญาณนั้นจากแดนชำระบาป แลกกับอาหาร เงิน ผลไม้ เบียร์ และ “ขนมเค้กวิญญาณ (Soul cakes)” ซึ่งเป็นเค้กทรงกลมขนาดเล็ก หน้าตาคล้ายบิสกิต ที่ครอบครัวเตรียมทำไว้แจกจ่าย

เชื่อกันว่า ประเพณีการแจกขนม Soul cakes นี้ได้รับการสนับสนุนจากคริสตจักรเพื่อทดแทนการที่ชาวเคลติกโบราณมักนิยมวางอาหาร-เครื่องดื่มไว้นอกบ้านให้แก่วิญญาณเร่ร่อน และต่อมาก็ถูกแทนที่ด้วยการละเล่น Guising และ Trick-or-treating ต่อมาจนถึงปัจจุบัน

Guising เริ่มขึ้นในประเทศไอร์แลนด์และสกอตแลนด์ในช่วงศตวรรษที่ 16 เป็นประเพณีที่เด็กๆ แต่งกายด้วยชุดและหน้ากากอำพรางตนเอง รวมกลุ่มกันไปเยี่ยมเยียนเพื่อนบ้านในยามค่ำคืน โดยมีการแสดง เช่น ร้องเพลง ท่องบทกลอน บทกวี หรือเล่าเรื่องขำขันให้ฟัง เพื่อแลกกับอาหาร ลูกกวาด หรือขนมหวาน

Trick-or-treating มีวิวัฒนาการมาจาก Guising แต่ทำให้ง่ายขึ้นและเป็นทางการน้อยลง ด้วยการแต่งกายชุดแฟนซี และแกล้งขู่เจ้าของบ้านที่เปิดประตูมาต้อนรับด้วยวลีที่ว่า “TRICK or TREAT!!” เพื่อแลกกับลูกกวาดหรือขนมหวานที่เพื่อนบ้านเตรียมไว้ให้ นิยมเล่นกันแพร่หลายในอเมริกาเหนือในช่วงศตวรรษที่ 20 โดยเน้นความสนุกสนาน บันเทิง เป็นกิจกรรมที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับครอบครัวและสังคมเพื่อนบ้าน

Share this with your friends via:
Scroll to Top